เหรียญหลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่ 2477


... ...



เลขที่ : 0902
ประเภทพระเครื่อง : พระเหรียญ พระหล่อ
ชื่อพระเครื่อง : เหรียญหลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่ 2477
สถานะ (ให้ชม/เช่าบูชา) :
ข้อมูลของพระเครื่อง : เหรียญหลวงพ่อพุ่ม (พระครูรัตนรังษี จนฺทโชโต) วัดบางโคล่ ยานนาวา กรุงเทพฯ 2477 สร้างขึ้นเพื่อแจกในงานทำบุญหลวงพ่อพุ่มอายุครบ 77 ปี ในปี พ.ศ. 2477
ประวัติ หลวงพ่อพุ่ม จันทโชติ (พระครูรัตนรังษี) วัดบางโคล่นอก จังหวัดกรุงเทพฯ
หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่นอก ท่านเป็นพระเถระโบราณผู้มีวิทยาคมสูง สมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ ให้ความเคารพหลวงพ่อพุ่ม มาก กรมหลวงชุมพร ก็เป็นศิษย์คนหนึ่งของหลวงพ่อพุ่ม ก่อนที่หลวงพ่อจะแนะนำให้ไปหาหลวงพ่อพริ้ง วัดบางประกอก ศิษย์อีกองค์ที่เป็นที่รู้จักดีคือ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ซึ่งหลวงพ่อพุ่มก็ได้แนะนำหลวงปู่โต๊ะ ไปฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงพ่อเนียม วัดน้อย ต่อไป
ประวัติหลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่นอก กำเนิดเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๓๙๙ สมัยต้นรัชกาลที่ ๔ แห่งราชวงศ์จักรี ณ บ้านข้างวัดสนามแดง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ในสมัยเด็กท่านชอบแสวงหาศึกษาสิ่งเร้นลับ อายุได้ ๑๒ ปี บิดามารดาได้พาไปบวชเป็นสามเณรที่วัดสนามแดง บางพลี จนอายุ ๒๐ ปี จึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยได้รับนามฉายาว่า "จันทโชติ" ภายหลังเมื่อได้บวช ท่านสนใจในด้านวิปัสสนาคันธุระ จึงได้ออกเดินธุดงควัตร สมัยก่อนพระองค์ใดที่จะขึ้นกรรมฐาน ต้องมาขึ้นกับ หลวงพ่อพุ่ม จันทโชติ ที่วัด ซึ่งหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงพ่อวงศ์ วัดปริวาส มาถวายตัวขึ้นกรรมฐานกับหลวงพ่อ หลวงพ่อพุ่ม มีชื่อเสียงมากทางวิปัสสนากรรมฐาน และการรักษาโรค และคุณไสย ซึ่งรักษาโดยใช้ “ไม้คฑา” เพียงอันเดียว ท่านมีลักษณะนิสัยพูดน้อย ทางคณะสงฆ์มองเห็นวัตรปฏิบัติของท่านน่าเลื่อมใสศรัทธามาก จึงได้แต่งตั้งให้ท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดบางโคล่นอก เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๑ ด้วยผลงานอันดีเด่น ท่านได้รับสมณศักดิ์เป็นพระปลัดพุ่ม และเลื่อนสมณศักดิ์เป็น "พระครูรัตนรังษี" และเป็นพระอุปฌาย์ หลวงพ่อพุ่ม มรณภาพเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๙ รวมสิริอายุได้ ๙๐ ปี ๗๐ พรรษา
ในคราวงานศพหลวงพ่อสมัยนั้น “เสือไท” ซึ่งเคารพนับถือหลวงพ่อพุ่ม เป็นอย่างมาก ได้มาร่วมงานศพที่วัด (บางท่านว่าจัดที่วัดบางโคล่นอก บางท่านว่าจัดที่วัดบางโคล่ใน ยังไม่เป็นที่ยุติ) ทางตำรวจทราบดีว่าเสือไทย นับถือหลวงพ่อพุ่มมากขนาดไหน และรู้ว่าต้องมาร่วมงานศพแน่ จึงเตรียมแผนล้อมจับนับร้อยนาย เป็นข่าวไปทั่ว ชาวบ้านสมัยนั้นต่างโจทย์ว่า เสือไทไม่กล้ามาหรอก เพราะมาก็โดนจับแน่ แต่เสือไทก็มาปรากฏตัวในงาน โดยมีทั้งพระ และชาวบ้านหลายคนที่จำได้ เห็นตอนที่มาวางดอกไม้จันทน์บนเมรุ รอดพ้นสายตาตำรวจนับร้อยที่เตรียมการล้อมจับได้ โดยเมื่อได้วางดอกไม้จันทน์แล้ว ก็หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย ชาวบ้านจึงลือกันว่าเสือไทหายตัวได้ ซึ่งเสือไทนั้น เป็นผู้ที่มีอาคม ร่ำเรียนวิชากับหลวงพ่อพุ่ม ตอนหลังกลับตัวกลับใจไม่ทำชั่ว เพราะหลวงพ่อพุ่มท่านขอให้เลิก เสือไทก็ยอมเลิกปฏิบัติตนเป็นโจรตั้งแต่นั้นมา แต่เมื่อคราวหลวงพ่อมรณภาพ เสือไท เป็นผู้ที่เคารพหลวงพ่อมาก จึงไม่ยอมที่จะไม่มาร่วม แต่ด้วยคดีอุกฉกรรจ์ที่เคยก่อไว้เก่าๆ ตำรวจยังตามตัวอยู่ หลังจากเสร็จงานศพหลวงพ่อพุ่มแล้ว ก็ไม่มีใครเห็นเสือไทอีกเลย
1 ใน 5 เหรียญเบญจภาคีของเมืองไทย เหรียญหลวงพ่อพุ่มได้รับการจัดให้เป็นหนึ่งในห้าของเหรียญชุด เบญจภาคี ได้รับความนิยมสูง ประวัติการสร้างชัดเจนคือ พระครูวินัยธรสวัสดิ์ สำนักวัดมหาธาตุ เป็นผู้ออกแบบและสั่งทำที่ร้านปั๊มเหรียญประดิษฐ์ภัณฑ์ จำนวนการสร้าง ๑,๐๐๐ เหรียญ สร้างด้วยเนื้อทองแดงเถื่อน (ทองแดงที่ใช้แล้ว) มี 2 พิมพ์ คือ แบบยันต์จรดขอบเหรียญ (ด้านหลัง) ซึ่งเป็นพิมพ์นิยม และยันต์ไม่จรดขอบ เนื้ออื่นนอกจากนี้คนพื้นที่ และผู้เฒ่าผู้แก่ร่วมสมัย ไม่เคยพบเห็น เมื่อสร้างเสร็จได้ถวายให้หลวงพ่อพุ่มปลุกเสกเดี่ยว ก่อนแจกในงานทำบุญอายุ ในสมัยก่อนผู้ที่จะเช่าบูชา ต้องทำบุญองค์ละ 5 บาท ซึ่งถือว่าแพงในสมัยนั้น
ผู้ที่มีเหรียญของท่านต่างประจักษ์ในความศักดิ์สิทธิ์ในพุทธคุณทางด้านแคล้วคลาด และคงกระพันมหาอุดของเหรียญรุ่นนี้กันมาก จนได้รับการจัดอันดับให้เป็นเหรียญ 1 ใน 5 ในชุดเบญจภาคีเหรียญของเมืองไทยมานานแล้ว ได้แก่ ๑. เหรียญหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ๒. เหรียญหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติฯ ๓. เหรียญหลวงปู่ศุข วัดปากคลองฯ ๔. เหรียญหลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่นอก ๕. เหรียญหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม
(ที่มา : itti-patihan.com)








Copyright © 2019 Form Webmaster Amuletherritage.
กลับด้านบน