พระหูยาน


... ...


เลขที่ : 1585

... ...


เลขที่ : 1586

... ...


เลขที่ : 1582

ประเภทพระเครื่อง : พระเนื้อชินยอดนิยม
ชื่อพระเครื่อง : พระหูยาน
สถานะ (ให้ชม/เช่าบูชา) :
ข้อมูลของพระเครื่อง : พระหูยาน พิมพ์ใหญ่ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี
พระหูยานลพบุรี กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี หนึ่งในเบญจภาคี เพชรน้ำหนึ่งดินแดนลุ่มเจ้าพระยา
เมืองลพบุรี เป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์ เมืองหนึ่งในอดีต สมัยที่มีขอมเรืองอำนาจอยู่ในดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เมืองที่มีประติมากรรมและพระพิมพ์มากมาย หนึ่งในพระพิมพ์ที่มีความสำคัญและนิยมกันมาก และถือได้ว่าเป็นเพชรน้ำเอก ที่เป็นสัญลักษณ์ของเมืองลพบุรีก็คือ พระหูยาน กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี
ประวัติการขุดค้นพบ พระหูยาน ได้มีการขุดพบกันมานานแล้ว เท่าที่มีการบันทึกบอกเล่าไว้ ในปี พ.ศ.2450 ครั้งสมัย พระยากำจัด เจ้าผู้ครองเมืองลพบุรี ได้มีเจ้าหน้าที่ของเรือนจำเป็นผู้บงการ โดยใช้นักโทษเป็นผู้ขุด ณ บริเวณพระปราง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ การขุดในครั้งนั้นได้ พระพุทธรูปบูชา และพระเครื่อง สกุลลพบุรีมากมาย เช่น พระร่วง พระหูยาน พระหลวงพ่อจุก พระหลวงพ่อแขก พระนารายณ์ทรงปืน พระซุ้มกระรอกกระแต พระสาม พระเขมรคางคน พระเขมรผมเวียน ฯลฯ
การที่ขุดพบในครั้งนั้น เรียกได้ว่า พระกรุเก่า ผิวของพระที่ได้มาในครั้งนั้นจะมีผิวเป็นสีคล้ำๆออกดำ ต่อมามีการลักลอบขุดกันอีกหลายๆครั้ง เช่น ในปี พ.ศ.2485 และได้มีการขุดครั้งใหญ่อีกครั้งในปี พ.ศ.2508 พบพระเครื่องเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะพระหูยาน พระที่พบในครั้งนี้ มีผิวปรอตจับขาวทั่วทั้งองค์พระ พระที่พบในครั้งนี้เรียกว่า พระกรุใหม่ นอกจากนี้ยังมีการพบพระหูยานอีกหลายกรุในลพบุรี เช่น กรุวัดปืน กรุคอปะ เป็นต้น ซึ่งแม่พิมพ์จะแตกต่างกันไป
พระหูยานที่พบใน กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ นั้นจะมีพบเป็นพิมพ์บัวสองชั้น พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก และพิมพ์รัศมี เป็นต้น ส่วนพิมพ์ที่นิยมมากที่สุด เป็นที่ต้องการของบรรดานักสะสมพระเครื่องคือ พิมพ์ใหญ่
พระพุทธศิลปะของพระหูยาน ลักษณะขององค์พระเป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัยขัดสมาธิราบ อยู่บนอาสนะบัวเล็บช้าง 5 กลีบ ตอนบนเป็นเกษรบัวลักษณะเป็นเส้นขีดๆสั้นๆ ใต้ฐานบัวเล็บช้างลงไปเป็นฐานหน้ากระดาน พระพักตร์ของพระหูยานแย้มพระโอษฐ์อย่างล้ำลึก
ที่มาของคำว่า “พระหูยาน” นั้น มาจากพระกรรณ (หู) ของพระหูยานนั้นมีใบพระกรรณทั้ง 2 ข้าง ยาวลงมาจรดพระอังสา (ไหล่) อันเป็นลักษณะเด่นชัด จึงเรียกขานกันมาแต่เดิมว่า พระหูยาน ส่วนในคำว่า ลพบุรี นั้นก็เป็นที่มาของเมืองที่พบ คือ เมืองลพบุรี เนื้อหาและวรรณะขององค์พระหูยานลพบุรี ที่พบมีอยู่เนื้อเดียว คือเนื้อชินเงิน ด้านหลังมีทั้งแบบที่เป็นแอ่งและหลังตัน ส่วนใหญ่จะปรากฏลายผ้าหยาบๆ
ด้านพุทธคุณ พระหูยานลพบุรี คงกระพันชาตรี และเมตตามหานิยม
ที่มา : nakhonchiangmaionline, https://nakhonchiangmaionline.com/ , พระหูยานลพบุรี กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี หนึ่งในเบญจภาคี เพชรน้ำหนึ่งดินแดนลุ่มเจ้าพระยา, โพสต์ 10 กรกฎาคม 2019.




Copyright © 2019 Form Webmaster Amuletherritage.
กลับด้านบน